เกมพื้นบ้านนันทนาการ มีอะไรบ้าง และเล่นยังไง ได้ประโยชน์ยังไงมาดูกัน
เกมพื้นบ้านนันทนาการ การละเล่นไทย คือ กิจกรรมสันทนาการที่มีมาอย่างยาวนาน ในอดีตเป็นเกมการละเล่นที่เล่นกันในหมู่เด็กๆ ในละแวกบ้านเรือนเดียวกัน แต่ปัจจุบันนี้มีบางการละเล่นไทยที่บรรจุอยู่ในวิชาพลศึกษา เพื่อให้เด็กๆ ได้รู้จักการละเล่น 4 ภาค และได้จัดเป็นการแข่งขันกีฬาสีในโรงเรียน เพื่อเสริมความสามัคคีให้กับเด็กๆ ในชั้นเรียน มาดูกันว่า 12 การละเล่นไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ มีอะไรบ้าง
เกมพื้นบ้านนันทนาการ จะมีวิ่งเปี้ยว เป็นการละเล่นที่เหมาะสำหรับเด็กวัยประถมขึ้นไป โดยใช้เสาปักหลัก กับ ผ้า 2 ผืน (คนละสีกัน) กระโดดเชือก ใช้อุปกรณ์คือ เชือกกระโดด หรือ หนังยางนำมาร้อยเป็นเชือกที่มีความยืดหยุ่น ตี่จับ เป็นการละเล่นที่มีมาแต่โบราณ เคยนิยมเล่นในการเทศกาลประจำปี งูกินหาง เป็นการละเล่นไทยที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวและธรรมชาติของงู และมีอีกหลายๆอย่าง
เกมพื้นบ้านนันทนาการ ยุคนี้เด็ก ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารได้ง่ายขึ้น ไม่ว่ามองไปทางไหน ก็จะเห็นเด็กตัวเล็กตัวน้อยเล่นเกมในไอแพด เมนต์เฟซบุ๊กกัน ใช้เวลาอยู่หน้าจอสี่เหลี่ยมเกือบทั้งวันทั้งคืน ต่างจากสมัยก่อนที่เด็ก ๆ มักจะชักชวนเพื่อน ๆ ออกมาเล่นการละเล่นพื้นบ้าน ร้องรำทำเพลงกันสนุกสนาน น่าคิดเหมือนกันว่าเด็กสมัยนี้ยังรู้จักวิธีเล่นการละเล่นพื้นบ้านของไทยมากน้อยแค่ไหน
การละเล่นพื้นบ้านแปลกๆ เช่น รีรีข้าวสาร ต้องมีผู้เล่น 2 คนหันหน้าเข้าหากัน และเอามือประสานกันไว้เป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ จะกี่คนก็ได้จะยืนเกาะเอวกันไว้ตามลำดับ หัวแถวจะพาขบวนลอดซุ้มพร้อมร้องเพลง "รีรีข้าวสาร" จนเมื่อถึงประโยคที่ว่า "คอยพานคนข้างหลังไว้" ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันไม่ให้คนสุดท้ายผ่านเข้าไป เรียกว่า "คัดคน" และเล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนคนหมด
การละเล่นพื้นบ้านแปลกๆ การละเล่นเป็นการส่งเสริมให้เด็ก ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ช่วยให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส รู้จักมีไหวพริบ และเป็นกิจกรรมที่แฝงไว้ ด้วยสัญลักษณ์ หากศึกษาการเล่นของเด็กในสังคม เท่ากับได้ศึกษาวัฒนธรรมของสังคมนั้นด้วย การละเล่นของเด็กไทย มีความหลากหลาย เช่น หมากเก็บ ว่าว โพงพาง รีรีข้าวสาร เป็นต้น
Comments
Post a Comment