ออทิสติกระดับรุนแรง อาการเป็นยังไง แล้วออทิสติกมีกี่ระดับ ต้องงการความช่วยเหลือด้านไหนมาดูกัน
ออทิสติกระดับรุนแรง ออทิสติก (Autism Spectrum Disorder; ASD) เป็นความบกพร่องของพัฒนาการด้านสังคมและการสื่อความหมาย มีพฤติกรรม กิจกรรม และความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำ ๆ จำกัดเฉพาะบางเรื่อง โดยแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัว แสดงอาการที่หลากหลายตั้งแต่ระดับน้อยไปจนถึงรุนแรง ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ออทิสติกระดับรุนแรง เกณฑ์การวินิจฉัยที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการแพทย์และจิตเวช คือเกณฑ์ DSM-5-TR (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition, Text Revision) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ปรับปรุงล่าสุดของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ได้จำแนกระดับความรุนแรงของออทิสติกออกเป็น 3 ระดับ ตามความต้องการในการดูแลช่วยเหลือที่แตกต่างกันไป
ออทิสติกระดับรุนแรง ระดับ 1 ต้องการความช่วยเหลือ ระดับ 2 ต้องการความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม แต่ระดับ 3 ต้องการความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมอย่างมาก ลักษณะของออทิสติกในระดับ 3 มีความบกพร่องอย่างชัดเจนมากในการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม พฤติกรรมซ้ำ ๆ มีความรุนแรงและขัดขวางการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก ต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก
ออทิสติกเทียม ภาวะนี้จะไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมหรือความผิดปกติของสมอง แต่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม จริงๆ แล้วคำว่า ‘ออทิสติกเทียม’ ไม่ใช่ศัพท์ทางการแพทย์ แต่เป็นคำที่ใช้สื่อความหมายถึงเด็กที่มีพฤติกรรมคล้ายออทิสติก โดยเป็นไปในเชิงที่เด็กมีพัฒนาการไม่สมวัยจากการขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม
ออทิสติกเทียม ภาวะออทิสติกเทียม เป็นภาวะที่เด็กขาดการกระตุ้นในการสื่อสาร 2 ทางส่งผลให้เกิดความล่าช้าทางการสื่อสารและมีพัฒนาการทางสังคมที่ไม่ปกติ คือไม่พูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยมักเกิดจากการที่ผู้เลี้ยงดูหรือพ่อแม่ปล่อยปละละเลย ไม่พูดคุยหรือเล่นกับลูก และปล่อยให้เด็กดูโทรทัศน์ หรือเล่นอุปกรณ์สื่อสารอย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนมากเกินไป
Comments
Post a Comment